20 Mar 2025

เปลือกทุเรียน สู่อาหารสัตว์คุณภาพสูง ขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG

“จากเปลือกทุเรียน สู่อาหารสัตว์คุณภาพสูง” ขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยวิสาหกิจชุมชนเพียวพลัสฟาร์ม ฟาร์มโคพันธุ์ดีปากน้ำโพ นายชายศักดิ์ วุฒิศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 12 นครสวรรค์ (สศท.12) เปิดเผยว่า ในปัจจุบัน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) […]

“จากเปลือกทุเรียน สู่อาหารสัตว์คุณภาพสูง” ขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG

โดยวิสาหกิจชุมชนเพียวพลัสฟาร์ม ฟาร์มโคพันธุ์ดีปากน้ำโพ

นายชายศักดิ์ วุฒิศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 12 นครสวรรค์ (สศท.12) เปิดเผยว่า ในปัจจุบัน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก โดยเฉพาะเรื่องการลดขยะให้เป็นศูนย์ (Zero Waste) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้กำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนภาคเกษตรด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ซึ่งเป็นแนวทางที่ผสมผสานเทคโนโลยีและนวัตกรรมชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและลดปริมาณของเหลือในภาคการเกษตรที่อาจก่อให้เกิดมลภาวะ และช่วยลดการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรที่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 12 ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงโคเนื้อมาตรฐาน GAP โดยติดตามการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนเพียวพลัสฟาร์ม ฟาร์มโคพันธุ์ดี ในตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม BCG Model โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการผลิตอาหารเลี้ยงโคเนื้อจากเศษวัสดุทางการเกษตร เช่น เปลือกทุเรียน ฟางข้าว และเศษอ้อย ผ่านกระบวนการหมักจุลินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีพลาสมาพลังงานต่ำ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

วิสาหกิจชุมชนเพียวพลัสฟาร์มเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2561 โดยมีนางวิยะดา ธีระราษฎร์ เป็นประธาน และดร.นิติพล พลสา นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับนายภูชิต มิ่งขวัญ ซึ่งทำหน้าที่ประสานงาน มีสมาชิกเกษตรกร 17 ราย ที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตรประเภทอื่นเป็นหลัก แต่เข้ามามีส่วนร่วมและเรียนรู้กระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน วิสาหกิจฯ มีพื้นที่ฟาร์มเลี้ยงโคเนื้อจำนวน 5 ไร่ โดยมีโคเนื้อจำนวน 50 ตัว และได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลาสมาพลังงานต่ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ทำให้ได้รับอาหารสัตว์หมักจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพสูงและเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร

เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่วิสาหกิจฯ เลือกใช้เป็นหลักคือ เปลือกทุเรียน ซึ่งมีปริมาณสารอาหารสูง โดยเฉพาะเยื่อใย ไขมัน และโปรตีน สามารถใช้ทดแทนอาหารหยาบและอาหารข้นได้ โดยจะนำเปลือกทุเรียนมาผลิตอาหารเลี้ยงโคเนื้อในช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคมของทุกปี ซึ่งจะมีเปลือกทุเรียนเหลือทิ้งจำนวนมากในแต่ละวัน

ดำเนินการต่อหลังจากโฆษณา

วิสาหกิจฯ เก็บรวบรวมเปลือกทุเรียนจากผู้ขายในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ในปริมาณเฉลี่ย 60-80 ตันต่อปี โดยต้นทุนการผลิตอาหารโคเนื้อจากเปลือกทุเรียนหมักจุลินทรีย์อยู่ที่ประมาณ 1.7 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนอาหารหยาบทั่วไปที่ทำจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีค่าเฉลี่ย 2 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้เห็นว่าอาหารจากเปลือกทุเรียนสามารถช่วยลดต้นทุนได้ถึง 15%

ในกระบวนการหมักจะเริ่มจากการคัดแยกสิ่งปะปนออกจากเปลือกทุเรียน จากนั้นจะใช้เครื่องสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ เหมาะสมสำหรับการบริโภคของวัว ก่อนจะบรรจุลงในภาชนะหมักและราดด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ผ่านการปรับปรุงพันธุกรรมด้วยเทคนิคพลาสมาพลังงานต่ำ โดยใช้เวลาในการหมักประมาณ 7 วัน ก่อนที่จะสามารถใช้เป็นอาหารโคได้

เนื่องจากความสำเร็จในการขับเคลื่อนภายใต้ BCG Model วิสาหกิจฯ ได้รับรางวัลการประกวดแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรดีเด่นจากสำนักงานเกษตรจังหวัดนครสวรรค์ในปี 2565 และรางวัลสาขานักธุรกิจนวัตกรรมจากการประกวด NSP Innovation awards 2022

ในอนาคต วิสาหกิจฯ มีแนวทางพัฒนาฟาร์มให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน โดยจะสนับสนุนเกษตรกรในชุมชนให้มีความรู้และเครื่องมือในการผลิตสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานอินทรีย์ รวมถึงการพัฒนาฟาร์มให้มีความยั่งยืนภายใต้โครงการโคกหนองนา โมเดล พันเพียร เคียงฝัน ซึ่งเป็นการจัดการพื้นที่ด้วยหลักการเกษตรธรรมชาติ เพื่อสร้างความสมดุลในระบบนิเวศ

หากท่านสนใจเข้าชมฟาร์มหรือศึกษาดูงาน สามารถติดต่อได้ที่ คุณภูชิต มิ่งขวัญ โทร 09 1859 4560

เกี่ยวข้องกับ ตลาดวัตถุดิบ
ฉบับ AviNews International September 2024 Thailand
Imagen Revista พารามิเตอร์คุณภาพของอาหารโปรตีนจากถั่วเหลืองและแหล่งโปรตีนทางเลือกในการเลี้ยงสัตว์ปีก

พารามิเตอร์คุณภาพของอาหารโปรตีนจากถั่วเหลืองและแหล่งโปรตีนทางเลือกในการเลี้ยงสัตว์ปีก

Güner GÖVENÇ
Imagen Revista ผลกระทบของความเครียดเรื้อรังและการอักเสบของลำไส้ต่อสุขภาพและประสิทธิภาพการเลี้ยงไก่เชิงพาณิชย์: ตอนที่ 1

ผลกระทบของความเครียดเรื้อรังและการอักเสบของลำไส้ต่อสุขภาพและประสิทธิภาพการเลี้ยงไก่เชิงพาณิชย์: ตอนที่ 1

Guillermo Tellez-Isaias
Imagen Revista การใช้ซาโปนินในผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก

การใช้ซาโปนินในผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก

Ken Bafundo
Imagen Revista การควบคุมแมลงในกระบวนการผลิตสัตว์ปีก

การควบคุมแมลงในกระบวนการผลิตสัตว์ปีก

Gracieli Araujo
Imagen Revista สัมภาษณ์ ดร. Brian Fairchild

สัมภาษณ์ ดร. Brian Fairchild

ฺBrian Fairchild
Imagen Revista ถั่วเหลืองที่มีกรดโอเลอิกสูง และผลกระทบต่อคุณภาพไข่ และเนื้อไก่

ถั่วเหลืองที่มีกรดโอเลอิกสูง และผลกระทบต่อคุณภาพไข่ และเนื้อไก่

Dr. Edgar O. Oviedo-Rondon
Imagen Revista ระบาดวิทยาของเชื้อเมตานิวโมไวรัสและฤดูกาล

ระบาดวิทยาของเชื้อเมตานิวโมไวรัสและฤดูกาล

Dr. Edgar O. Oviedo-Rondon
Imagen Revista การฉีดวัคซีนในไข่ฟักด้วยเทคโนโลยี EMBREX® ช่วยเสริมการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงในลูกไก่ได้ไวขึ้น

การฉีดวัคซีนในไข่ฟักด้วยเทคโนโลยี EMBREX® ช่วยเสริมการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงในลูกไก่ได้ไวขึ้น

Zoetis Technical Team
Imagen Revista พยาธิวิทยาของระบบภูมิคุ้มกันในการวินิจฉัยภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องในสัตว์ปีก

พยาธิวิทยาของระบบภูมิคุ้มกันในการวินิจฉัยภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องในสัตว์ปีก

Nestor Ledesma Martínez
Imagen Revista ขนาดของไข่

ขนาดของไข่

H&N Technical Team
Imagen Revista ความปลอดภัยทางชีวภาพและการปฏิบัติตามข้อกำหนด: ความสมดุลระหว่างวัฒนธรรม บุคลิกภาพ ประสบการณ์ การศึกษา และเทคโนโลยี

ความปลอดภัยทางชีวภาพและการปฏิบัติตามข้อกำหนด: ความสมดุลระหว่างวัฒนธรรม บุคลิกภาพ ประสบการณ์ การศึกษา และเทคโนโลยี

Edgar O. Oviedo-Rondón
Imagen Revista การพัฒนาสุขภาพสัตว์ปีก: บทบาทของการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ในการป้องกันโรค

การพัฒนาสุขภาพสัตว์ปีก: บทบาทของการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ในการป้องกันโรค

Talha Siddique
Imagen Revista ความปลอดภัยทางชีวภาพ: เราเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการป้องกันเชื้อก่อโรคและการกักกันโรค?

ความปลอดภัยทางชีวภาพ: เราเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการป้องกันเชื้อก่อโรคและการกักกันโรค?

aVinews Thailand Kate Barger Weathers
Imagen Revista สวัสดิภาพสัตว์และปัญญาประดิษฐ์: การผสมผสานของอุตสาหกรรมไก่ในปัจจุบันหรืออนาคต?

สวัสดิภาพสัตว์และปัญญาประดิษฐ์: การผสมผสานของอุตสาหกรรมไก่ในปัจจุบันหรืออนาคต?

Dra. Elein Hernández
Imagen Revista In ovo vaccination with Embrex® technology helps support earlier, more robust immune response in chicks

In ovo vaccination with Embrex® technology helps support earlier, more robust immune response in chicks

Zoetis Technical Team

เข้าร่วมชุมชนผู้เลี้ยงสัตว์ปีกของเรา

เข้าถึงบทความในรูปแบบ PDF
ติดตามข่าวสารกับจดหมายข่าวของเรา
รับนิตยสารในรูปแบบดิจิทัลฟรี"

ค้นพบ
AgriFM - พอดแคสต์ภาคปศุสัตว์ในภาษาสเปน
https://socialagri.com/agricalendar/en/agriCalendar
agrinewsCampus - หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับภาคปศุสัตว์